สพฐ. เดินหน้าสื่อสารสร้างความเข้าใจการเรียนประวัติศาสตร์แนวทาง 8+1 ปรับการจัดการเรียนรู้ ต่อยอด Active Learning เรียนรู้อย่างมีความสุข

เมื่อวันที่ 12 ม.ค.นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมทางไกลเพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจการบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีนางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. ร่วมชี้แจงแนวทางการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ไปยังผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาทั่วประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมรับชมกว่า 29,000 คน ผ่านระบบการถ่ายทอดสด OBEC Channel

พร้อมกันนี้ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ นำโดยนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. ได้ฝากแนวคิดผ่านคลิปวิดีโอเกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทย อาทิ การจัดการเรียนรู้ Gen Z จะมีวิธีการจัดการเรียนรู้อย่างไรให้เด็กนักเรียนมีความสนุก ไม่ใช่การเรียนรู้แบบท่องจำ ซึ่งจะเป็นบทบาทหน้าที่ของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนการสอน รวมถึงวิชาหน้าที่พลเมือง และวิชาภาษาไทย ที่จะสร้างให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ เนื่องจากในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมาก ดังนั้นในการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์จะต้องสร้างความแตกต่างให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกสนุกสนาน ตื่นเต้น ด้วยการใช้ AR สื่อร่วมสมัยการเรียนรู้จากสถานที่จริง รวมไปถึงการเรียนรู้ลักษณะของคนไทยและวัฒนธรรมไทยอีกด้วย อีกทั้ง สพฐ. ได้กำหนดจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่มุ่งเน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ให้เหมาะสมตามวัยของผู้เรียน และมอบนโยบายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาดำเนินการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ให้เห็นเป็นรูปธรรม เพื่อขยายผล สร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจร่วมกัน นำไปปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน เพื่อประสบผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้…

[อ่านต่อ]

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *