“เด็กหลุดจากระบบการศึกษา” ปัญหาหมักหมมที่ยังต้องเร่งแก้ไข

เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 ทีมข่าว “เดลินิวส์ออนไลน์” ขอเป็นกระบอกเสียงให้กับเด็กที่ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาเนื่องจากปัญหา “ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา” เพื่อหวังให้รัฐบาล “ใส่ใจ” กับการแก้ไขปัญหานี้ให้มากขึ้น
“ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา” ที่ส่งผลทำให้เด็กไทยต้องหลุดจากระบบการศึกษา ปัญหาในวงการการศึกษาของไทยที่หมักหมมมาอย่างยาวนาน และดูจะไม่มีทีท่าว่าจะสามารถแก้ปัญหานี้ลงได้ง่ายๆ
เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 ทีมข่าว “เดลินิวส์ออนไลน์” ขอเป็นกระบอกเสียงให้กับเด็กที่ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา เนื่องจากปัญหา “ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา” เพื่อหวังให้รัฐบาล “ใส่ใจ” กับการแก้ไขปัญหานี้ให้มากขึ้น
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้รายงาน สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาปี 2565 พบว่า ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 มีเด็กนักเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ (อนุบาล-ม.3) จำนวนประมาณ 9 ล้านคน อยู่ในสังกัดของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (อปท.) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และ กรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยตั้งแต่ปีการศึกษา 2563-2565 พบว่า มี นักเรียนยากจนพิเศษ (นักเรียนที่อยูในครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 3,000 บาทต่อคนต่อเดือน) ในระดับการศึกษาภาคบังคับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 มีนักเรียนยากจนพิเศษ 994,428 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 มี 1,174,444 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 มี 1,244,591 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 มี 1,301,366 คน และภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 มีถึง 1,307,152 คน ซึ่งกลุ่ม “ยากจนพิเศษ” นี่เอง ถือเป็นนักเรียนกลุ่มเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษา ที่ทาง กสศ. ประเมินว่า ปัจจุบันมีมากกว่า 1.8 ล้านคน โดยเฉพาะเด็กกลุ่มช่วงชั้นรอยต่อ ป.6, ม.3 และ ม.6 ที่มักจะหลุดจากระบบในช่วงปิดเทอม ไม่กลับเข้ามาเรียนอีก
[อ่านต่อ]

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *