สพฐ.ใช้กระบวนการActive Learningแก้ภาวะถดถอยทางการเรียน

รองเลขาธิการกพฐ. ถกเข้มผู้บริหารสถานศึกษา วางแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ใช้กระบวนการActive Learningแก้ภาวะถดถอยทางการเรียน

เมื่อวันที่ 26 เม.ย.ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ตนได้ประชุมจัดทำแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หรือ Active Learning สู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ และการพัฒนาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) ของผู้เรียน ร่วมกับรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่เราได้เผชิญกับสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ทำให้นักเรียนจำนวนมากพบกับภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ซึ่งจากการวิจัยของสภาการศึกษา พบว่า นักเรียนในระดับต่างกัน จะพบภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เช่น ในระดับประถมศึกษา พบภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ในด้านความรู้ การอ่าน คณิตศาสตร์ และคุณลักษณะของนักเรียน ส่วนในระดับมัธยมศึกษา พบว่า มีความถดถอยทั้งในด้านความรู้ การเชื่อมโยงความรู้ สภาวะทางอารมณ์ สัมพันธภาพ โดยมีสาเหตุที่หลากหลาย

[อ่านต่อ]

สพฐผนึกกำลังขับเคลื่อน Active Learning แก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้

นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( กพฐ.) กล่าวตอนหนึ่งในการเป็นประธานและบรรยายพิเศษ “การประชุมจัดทำแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ และการพัฒนาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) ของผู้เรียน” โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งเป็นคณะทำงานการจัดทำแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้เชิงรุกActive Learning สู่สมรรถนะผู้เรียน รวมทั้งสิ้น 80 คน ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ที่เราได้เผชิญกับสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ทำให้นักเรียนจำนวนมากพบกับภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ซึ่งจากการวิจัยของสภาการศึกษา พบว่า นักเรียนในระดับต่างกัน จะพบภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เช่น ในระดับประถมศึกษา พบภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ในด้านความรู้การอ่าน คณิตศาสตร์ และคุณลักษณะของนักเรียน ส่วนในระดับมัธยมศึกษา พบว่า มีความถดถอยทั้งในด้านความรู้ การเชื่อมโยงความรู้ สภาวะทางอารมณ์ สัมพันธภาพ โดยมีสาเหตุที่หลากหลาย ทางด้านครูและผู้ปกครองก็ได้รับผลกระทบจากการต้องปรับตัวต่อการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ที่ต้องใช้ทั้งองค์ความรู้และการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดดังนั้น การมีตัวอย่างแนวทางการจัดการเรียนการสอนสำหรับครูและผู้เรียนที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะครูผู้สอน สามารถคลายความกังวล และจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพในสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน

[อ่านต่อ]

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *